วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สืบค้นข้อสอบ O-net ข้อ 21-26 มาลองทำกันดูนะ^^


คำอธิบาย
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้มีลักษณะเหมือนกันประการหนึ่ง คือประกอบด้วยธาตุหลายชนิดมารวมอยู่ด้วยกั่น ธาตุหลักที่พบมากในสิ่งมีชีวิต คือ คาร์บอน (carbon, C) ไฮโดรเจน (hydrogen, H) ออกซิเจน (oxygen, O)ไนโตรเจน (nitrogen, N) ซัลเฟอร์ (sulfer, S) และฟอสฟอรัส (phosphorus, P) ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้สามารถจะรวมตัวกันหลายรูปแบบ ก่อกำเนิดเป็นโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตขึ้น การที่ธาตุต่าง ๆ สามารถรวมอยู่ด้วยกันได้ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เรียกว่าพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) เป็นสำคัญ แต่ก็ยังมีพันธะเคมีอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้การยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล และระหว่างโมเลกุลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พันธะเหล่านี้คือ พันธะไอออนิก (Ionic bond) พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) และพันไฮโดรโฟบิก (hydrophobic bond)
พันธะโควาเลนต์เป็นพันธะเคมีที่ไม่แตกสลายง่าย ดังนั้น โมเลกุลเล็ก ๆ หลายชนิดจึงมีความคงทนเป็นพิเศษ และถูกใช้เป็นหน่วยย่อย (monomer)ในการสร้าง โมเลกุลใหญ่ๆ (polymer) โพลิเมอร์หนึ่ง ๆ นั้น ปกติจะประกอบด้วยหน่วยย่อยเหมือน ๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยเหมือนๆ กันเป็นจำนวนมากต่อกันยาวเป็นโซ่ ในการย่อยสลายโพลิเมอร์ลงเป็นหน่วยย่อยนั้นทำได้ง่ายมากกว่าการสลายหน่วยย่อยเอง
เราสามารถจำแนกชีวโมเลกุลได้โดยดูที่หมู่ฟังก์ชันของโมเลกุลนั้นเป็นสำคัญหมู่ฟังก์ชันเหล่านี้ ได้แก่ โมเลกุลใดมีหมู่คาร์บอกซิล ก็จัดเป็นกรด ตัวอย่างเช่น กรดไขมัน จะมีหมู่คาร์บอกซิลและสายคาร์บอน–ไฮโดรเจนหนึ่งสาย หรือกรดอะมิโน ก็มีทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิล อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน สำหรับคาร์โบไฮเดรต เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ จะมีหมู่อัลดีไฮด์หรือหมู่คีโตน และหมู่ไฮดรอกซิล การศึกษาสมบัติทางเคมีของชีวโมเลกุล ตั้งแต่โมเลกุลหน่วยย่อย เช่น กรดอะมิโน มอโนแซ็กคาไรด์ และลิพิดตามลำดับนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีวเคมี (biochemistry)
สารชีวโมเลกุล (biomolecule) เป็นสารเคมีที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต อยู่ในกลุ่มของสารอินทรีย์ มีหลายชนิด ทำหน้าที่ต่างๆ กันในร่างกาย เช่น เป็นองค์ประกอบของอวัยวะต่างๆ ใช้ในการสร้างพลังงาน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เป็นน้ำย่อย รวมทั้งเป็นสารพันธุกรรม
สาระสำคัญ
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate)
2. โปรตีน (protein)
3. ลิพิด (lipid)
4. กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)
ทีมาhttp://thaigoodview.com/node/21065
ตอบ ข้อ 4 ครับ


คำอธิบาย
ชนิดของกรดไขมัน

กรดไขมันที่ได้จากการนำไตรกลีเซอไรด์มาไฮโดรไลซ์จะเป็นโซ่ตรง และมีจำนวนคาร์บอนเป็นเลขคู่อยู่ระหว่าง 12–24 อะตอม กรดไขมันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีประมาณ 40 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

1. กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2nO2 หรือ CnH2n+1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)nCOOH เช่น กรดไขมันอิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H36O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้

CH3(CH2)16COOH หรือ C17H35COOH
กรดไขมันอิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดปาล์มิติก (palmitic acid) และกรดสเตียริก (stearic acid)

ไขมันจากสัตว์ มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่พันธะระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอนยึดเหนี่ยวด้วยพันธะคู่อย่างน้อย 1 พันธะ ซึ่งมีจำนวนอะตอมคาร์บอนน้อยกว่ากรดไขมันอิ่มตัว 2 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น CnH2n–2O2 หรือ CnH2n–1COOH หรือเขียนสูตรได้เป็น CH3(CH2)yCH=CH(CH2)xCOOH เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีจำนวนอะตอมคาร์บอน 18 อะตอม มีพันธะคู่ที่คาร์บอนตำแหน่ง 9–10 จะมีสูตรทั่วไปเป็น C18H34O2 ซึ่งเขียนสูตรดังนี้
CH3(CH2)7CH=CH(CH2)7COOH หรือ C17H33COOH

กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากที่สุด ได้แก่ กรดโอเลอิก (oleic acid) และกรดไลโนเลอิก (linoleic acid)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์และพืชประกอบด้วยของผสมของกรดไขมันหลายชนิด ของผสมที่มีร้อยละของกรดไขมันอิ่มตัวสูงจะเป็นของแข็ง ก็คือเป็นไขมัน เช่น ไขวัว แต่ถ้ามีร้อยละของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงก็จะเป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันพืช
ไขมันจากพืช มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ากรดไขมันอิ่มตัว
ที่มาhttp://www.promma.ac.th/chemistry/boonrawd_site/kind_of_fattyacid.htm
ตอบ ข้อ 3 ครับ



คำอธิบาย
สารละลาย (Solution) คือ สารเนื้อเดียวที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ถ้าตัวถูกสารละลายและตัวทำละลายมีสถานะเดียวกันสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าสารทั้งสองมีสถานะแตกต่างกันสารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายเป็นตัวทำละลาย
หน่วยของสารละลาย เป็นค่าที่แสดงถึงปริมาณของตัวละลายที่ละลายอยู่ในตัวทำละลายหรือในสารละลายนั้น วัดในรูปความเข้มข้นปริมาณตัวถูกละลายต่อปริมาณสารละลาย (ยกเว้นหน่วยโมลต่อกิโลกรัม)
1. ร้อยละ
1.1 ร้อยละโดยมวล(มวล/มวล) คือ ปริมาณมวลของตัวถูกละลายในมวลของสารละลาย 100 หน่วยมวล
1.2 ร้อยละโดยปริมาตร(ปริมาตร/ปริมาตร) คือ ปริมาตรของตัวถูกละลายในสารละลายปริมาตร 100 หน่วยปริมาตร นิยมใช้กับสารละลายที่เป็นของเหลว เช่น สารละลายแอลกอฮอล์เข้มข้นร้อยละ 20 โดยปริมาตร หมายความว่าสารละลายนี้ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรจะมีแอลกอฮอล์ละลายอยู่ 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร
1.3 ร้อยละมวลต่อปริมาตร คือ ปริมาณของตัวถูกละลายในปริมาตรของสารละลาย 100 หน่วยปริมาตร โดยทั่วไปถ้ามวลของตัวถูกละลายมีหน่วยเป็นกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร และถ้ามวลของตัวถูกละลายมีหน่วยเป็นกิโลกรัม ปริมาตรของสารละลายจะมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เดซิเมตรหรือลิตร หน่วยมวลและหน่วยปริมาตรต้องให้สอดคล้องกันด้วย
2. โมลาริตี หรือโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตร (mol/dm3 หรือ mol/l) เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัว ถูกละลายในสารละลาย 1 ลูกบาศก์เดซิเมตร หน่วยความเข้มข้นเป็นโมลต่อลูกบาศก์เดซิเมตรอาจเรียกย่อได้เป็นโมลาร์ (Molar) ใช้สัญลักษณ์ M
3. โมแลลิตี หรือ โมลต่อกิโลกรัม (mol/kg) เป็นหน่วยที่บอกจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่ละลาย ในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม จึงมีหน่วยเป็น mol/kg หรือเรียกว่า โมแลล (Molal) ใช้สัญลักษณ์ m
4. เศษส่วนโมล (Mole fractions) คือ สัดส่วนจำนวนโมลของสารองค์ประกอบหนึ่งต่อจำนวนโมลรวม ของสารทุกชนิดในสารละลาย ใช้สัญลักษณ์ X เช่น สารละลายชนิดหนึ่งประกอบด้วยสาร A a mol, B b mol และ C c mol จะได้เศษส่วนโมลของสาร A, B และ C ดังนี้
เศษส่วนโมลของสาร A (XA) = a / ( a + b + c )
เศษส่วนโมลของสาร B (XB) = b / ( a + b + c )
เศษส่วนโมลของสาร C (XC) = c / ( a + b + c )
ผลรวมของเศษส่วนโมลของสารองค์ประกอบทั้งหมดคือ XA + XB + XC มีค่าเท่ากับ 1 และเมื่อนำค่าเศษส่วนโมลของแต่ละสารมาคูณด้วยร้อย จะได้ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยมวลของสารนั้น
ร้อยละโดยมวลของสาร A = เศษส่วนโมลของสาร A * 100
ร้อยละโดยมวลของสาร B = เศษส่วนโมลของสาร B * 100
ร้อยละโดยมวลของสาร C = เศษส่วนโมลของสาร C * 100
5. ส่วนในล้านส่วน (parts per million; ppm) เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวถูกละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ล้านหน่วยมวลเดียวกัน ซึ่งเป็นหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางมาก ๆ หรืออาจใช้แสดงปริมาณของสิ่งเจือปนที่มีอยู่ในสารเคมีที่บริสุทธิ์ต่าง ๆ เช่น สารละลายโพแทสเซียมไนเตรตเข้มข้น 2 ppm หมายความว่ามีโพแทสเซียมไนเตรตเป็นตัวละลาย 2 ส่วน (กรัม) ละลายอยู่ในสารละลาย 1 ล้านส่วน (กรัม) หรือ 106 กรัม

ในกรณีที่สารละลายเจือจางมากๆ มวลของสารละลายมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลของตัวทำละลาย ทำให้มวลของสารละลายมีค่าใกล้เคียงกันมากกับมวลของตัวทำละลายจนถือว่าเท่ากันได้
ที่มาhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic7/solution.html
ตอบ ข้อ 4 ครับ



คำอธิบาย
กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน
สูตรทั่วไป
กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์
สมบัติของกรดอะมิโน
1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี
2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์
3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน
4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance
การเกิดพันธะเพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน
อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้
พวกเพปไทด์ที่เป็นโมเลกุลเปิดไม่ดูดเป็นวง จะหาจำนวนพันธะเพปไทด์ได้ดังนี้
ถ้ากรดอะมิโน n ชนิด ชนิดละ 1 โมเลกุล มาทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพอลิเพปไทด์แบบต่าง ๆ โดยที่พอลิเพปไทด์แต่ละแบบต่างประกอบด้วยกรดอะมิโนแต่ละชนิดเท่า ๆ กัน
ที่มาhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/amino.html
ตอบ ข้อ 1 ครับ


คำอธิบาย
ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรตประมาณวันละ 400-700 กรัม คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน อัตราส่วนจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนต่อออกซิเจนเป็น 2 : 1 เสมอ คาร์โบไฮเดรต มี 3 รูป คือ
1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่พบมาก ได้แก่ น้ำตาลที่มีคาร์บอน 6 อะตอม (hexose) เช่น
-น้ำตาลกลูโคส (glucose) พบมากในพืชทั่ว ๆ ไปและในองุ่น
-น้ำตาลกาแล็กโทส (galactose) พบมากในน้ำนม
-น้ำตาลฟรักโทส (fructose) พบมากในผลไม้ เช่น ส้ม น้ำผึ้ง
2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) ได้แก่
-น้ำตาลมอลโทส (moltose) คือ น้ำตาลที่เปลี่ยนมาจากแป้ง
-น้ำตาลแล็กโทส (lactose) คือ น้ำตาลที่ได้จากนม
-น้ำตาลซูโครส (sucrose) คือ น้ำตาลน้ำตาลที่ได้จากพืช ผลไม้
3. น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (polysaccharide) ได้แก่
-แป้งในพืช (starch)
-แป้งในสัตว์ (glycogen)
-เซลลูโลส (cellulose)
ฯลฯ
ภาพโมเลกุลของไกลโคเจน
อาหารที่รับประทานเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตถึง 50% ร่างกายสามารถสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากสารอาหารอื่นได้บ้าง ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินต้องการเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น รอบ ๆ อวัยวะภายในหรือใต้ผิวหนัง
คาร์โบไฮเดรตจะแตกเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ พวกน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
การทดสอบแป้ง แป้งเมื่อถูกกับสารละลายไอโอดีนจะให้สีน้ำเงินเข้ม
การทดสอบน้ำตาล นำสารที่ต้องการจะทดสอบใส่ในสารละลายเบเนดิกต์ (Benedict's solution) ปริมาณเท่า ๆ กันแล้วต้มให้ร้อนจะได้สีแสด ในการทดสอบน้ำตาลด้วยสารละลายเบเนดิกต์นั้นบางครั้งให้สีเขียวอมเหลือง เหลือง แสด ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาล ถ้ามีน้อยจะมีสีเขียวอมเหลือง ถ้ามีมากจะมีสีแสดหรือสีน้ำตาล
การทดสอบน้ำมัน นำสารที่ต้องการจะทดสอบถูกับกระดาษจะโปร่งแสง
ทีมาhttp://www.kanlayanee.ac.th/kn/work2544/40520/a3.html
ตอบ ข้อ 3ครับ


คำอธิบาย

อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "เกาะแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่ทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย
ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด
อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da
โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที่สุด
ทีมาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99
ตอบ ข้อ 2 ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น